M Academy

คนไทย เก่ง! แต่ทำไมถึงไม่สามารถไปไกลกว่าชาวต่างชาติได้

February 12th, 2015

ในชีวิตการทำงานของเรา คงได้พบเจอผู้คนมากมาย ทั้งในองค์กร และนอกองค์กร คงมีหลายคนที่เรามองเป็นเหมือน Role Modelหรือคนเก่งๆ ที่เติบโตมาในวัฒนธรรมแบบไทยๆ ถูกฟูมฟักสั่งสอนทั้งจากบุพการีและสถานศึกษา ให้รู้จักนอบน้อมถ่อมเนื้อถ่อมตน ไม่ขี้คุย ขี้โม้ ไม่วิเคราะห์ ไม่ซักถาม และที่สำคัญคือขาดการแสดงออกทางความคิด ขาดความมั่นใจ และขาดความโดดเด่นเมื่อต้องยืนอยู่บนเวทีระดับนานาชาติ ทำให้ประเทศของเรามีจำนวนคนที่ประสบความเร็จในประเทศมากมาย แต่กลับกลายเป็น Nobody หรือคนไม่เก่งในสายตาของผู้บริหารระดับนานาชาติ

ในอีกทางหนึ่ง ก็มีผู้มีชื่อเสียงที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจหลายคน มีความมั่นใจว่าสามารถที่จะยืนอยู่บนเวทีระดับนานาชาติได้แล้ว แต่แท้ที่จริง กลับทำได้เพียงสร้างความฮือฮาให้กับคนไทยกันเอง แต่ไม่สามารถสร้างความโดดเด่นและการจดจำต่อนักธุรกิจชาวต่างชาติได้

อุปสรรคของความเป็นผู้นำระดับนานาชาติของคนไทย จึงถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล โดยเฉพาะเมื่อการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่กำลังจะมาถึง จึงนับว่าเป็นความท้าทายของนักธุรกิจไทยเป็นอย่างมาก ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะเกิดขึ้นในประเทศไทย การวางแผนในการแข่งขันเพียงแค่ตลาดในประเทศจะไม่มีความสำคัญต่อธุรกิจอีกต่อไปเพราะโลกของการแข่งขันมันกว้างกว่านั้นอีกมาก

เสียงยืนยัน จากผู้บริหารคนไทย ที่ได้เข้ารับการอบรมกับ Stephen Krempl
Prof. Dr. Apichati Sivayathorn : “ทำให้เราสามารถที่จะรู้เคล็ดลับในการที่จะเสริมสร้างความมั่นใจของตัวเองได้”
Khun Somkiat Pavaritpong : “ได้กลับไปปรับปรุงตัวเอง และสามารถก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ผมจึงแนะนำว่า ทุกๆ Level ก็สามารถเข้ามาร่วม Workshop ครั้งนี้ ซึ่งก็น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกๆคน”
Khun Att Thongtang : “ได้เทคนิคที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฏิบัติง่ายๆ เหล่านี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานแน่นอน”

ลองคิดดูสิว่า ถ้าผู้นำที่เราคิดว่าประสบความสำเร็จสามารถทำได้เท่านี้ อนาคตเราอาจต้องมีผู้นำทางด้านธุรกิจเป็นคนชาติคือประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างแน่นอน นักธุรกิจชาวต่างชาติ มีเทคนิคสร้างภาวะผู้นำที่น่าจดจำกันอย่างไร แน่นอนว่า คงไม่ใช่แค่ได้เกิดเป็นฝรั่ง และเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ก็สามารถสร้างความแตกต่างและน่าจดจำได้ในทันที

จริงอยู่ว่าคนต่างชาติย่อมได้เปรียบเราในเรื่องของภาษา และวัฒนธรรมการใช้ชีวิต ที่ถูกปลูกฝังแนวคิดของการแสดงออกทางความคิด ให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ทำให้ทุกครั้งที่เราเห็นชาวต่างชาติขึ้นพูดบนเวทีนานาชาติ จะดูน่าเชื่อถือ และดูมีเรื่องเล่าได้อย่างน่าจดจำ และน่ายอมรับ จนทำให้เรารู้สึกว่านักธุรกิจชาวต่างชาติ จะได้รับการยอมรับและจดจำได้ง่ายกว่าคนเอเชีย ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะการสร้างความประทับใจให้เป็นที่จดจำได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะมีได้ หากแต่ต้องได้รับทราบถึงเทคนิคและคำแนะนำจากผู้ที่เรียกว่าเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ในหลายๆเวทีธุรกิจนานาชาติและได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง จากองค์กรและผู้นำระดับนานาชาติด้วยกัน

Stephen Krempl อดีตผู้บริหาร Starbucks, Motorola, PepsiCo และ Yum Brands Stephen Krempl คือบุคคลที่ผู้นำระดับนานาชาติให้การยอมรับ เพราะเป็นทั้งผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ และเป็นผู้นำตัวจริงในระดับนานาชาติ และที่สำคัญ StephenKrempl ยังมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาผู้นำระดับนานาชาติมาแล้วมากกว่า 25 ประเทศทั่วโลกในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เป็นโอกาสของผู้บริหารไทยที่จะได้ก้าวสู่เวทีนานาชาติอย่างมั่นใจ

ชมวิดีโอ : Global Executive Mindset @M acadamy Thailand

วันนี้ M academy ได้ร่วมกับ Stephen Krempl จัด Global Executive Mindset – The 5% Zone, How to Stand Out as a Global Executive งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 1 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 ที่จะช่วยเปลี่ยนชีวิตคนทำงานอย่างเรา หรือผู้บริหารคนไทย ให้สามารถสร้างความโดดเด่น และเป็นที่จดจำทั้งในองค์กรและบนเวทีผู้นำระดับนานาชาติ

ถ้าคุณคือผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ แต่ขาดความมั่นใจและความโดดเด่นเมื่อคุณต้องยืนอยู่บนเวทีระดับนานาชาติหรือยังไม่มั่นใจว่าคุณ ได้รับความสนใจจากผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน และคู่ค้าของคุณในแบบที่คุณสมควรจะได้รับหรือไม่ หรือคุณยังไม่สามารถสร้างความประทับใจและเป็นที่จดจำหลังการประชุมทางธุรกิจ หรือแม้กระทั่งในขณะที่คุณกำลังออกงานสังคม การได้รับเทคนิคและเวิร์คช้อปจาก Stephen Krempl อาจเปลี่ยนคุณได้ สำหรับผู้ที่สนใจ

ติดตามรายละเอียด :
สามารถคลิกดูรายละเอียด หรือ ดาวน์โหลดโบรชัวร์ ได้ที่นี่ หลักสูตรนี้เหมาะกับ ผู้จัดการ ผู้นำ ผู้บริหาร และผู้ที่สนใจในการพัฒนาศักยภาพที่โดดเด่นระดับโลก
แหล่งที่มาบทความ : Marketing Oops!